วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12
วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ.2556


- อาจารย์ให้กลุ่มที่เหลือมาสาธิตการสอนตามหน่วยที่รับผิดชอบ และพร้อมให้คำแนะนำ

เช่น

หน่วย : ข้าว

คำแนะนำของอาจารย์ : - วันแรกต้องให้เด็กรู้จักชื่อก่อน ดังนั้นถึงสอนเรื่องประเภท
                                      - ลักษณะของข้าว ควรนำข้าสารแต่ละชนิดมาใส่ในภาชนะและให้เด็กดู เพื่อที่ เด็กจะได้สังเกตว่าข้าวสารมีความแตกต่างกันอย่างไร
                                      - การเก็บรักษาข้าว ควรใช้คำถามถามเด็กว่า เด็กๆ เคยเห็นคุณพ่อ-คุณแม่ เก็บข้าวไว้ที่ไหนบ้างค่ะ? เพื่อที่จะเป็นการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของเด็ก แล้วจึงเข้าเรื่องรูปทรง

*** งานที่ได้รับมอบหมาย ***

อาจารย์ให้สรุปงานวิจัยคนละ 1 เรื่องลงบล็อค

*** สรุปงานวิจัย ***

ชื่องานวิจัย : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้วิจัย : เชวง ซ้อนบุญ

ความมุ่งหมายของการวิจัย :
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน ระหว่าง และหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
4. เพื่อศึกษาผลการนำรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้ผ่านการหาประสิทธิภาพแล้วไปใช้ในสภาพจริง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย :
1. เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนอนุบาลชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีเขต 1
2. ครูปฐมวัยที่ปฏิบัติงานสอนอยู่ในชั้นเรียนของเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 5 - 6 ปี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนอนุบาลชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีเขต 1

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
1. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในระยะการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C ประกอบด้วย

              1.1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C คือ นักวิชาการด้านการศึกษาปฐมวัยซึ่งมีประสบการณ์ในการสอนระดับการศึกษาปฐมวัยหรือสาขาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 10 ปี และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป  ในสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยหรือสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 คน
              1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินคุณภาพของคู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C แผนการจัดประสบการณ์ และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือ นักเรียนชาย-หญิง อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 27 คนโรงเรียนอนุบาลชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีเขต 1 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

               1.3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานำร่องครั้งที่ 1 คือ นักเรียนชาย-หญิง อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 31 คน โรงเรียนอนุบาลชลบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีเขต 1 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

               1.4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานำร่องครั้งที่ 2 คือ นักเรียนชาย-หญิง อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 28 คน โรงเรียนบ้านห้วยกะปิ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีเขต 1 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในระยะการศึกษาประสิทธิภาพและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนแบบ
MATH - 3C ประกอบด้วย

              2.1  นักเรียนชาย-หญิง อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/8 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2553 จำนวน 37 คน โรงเรียนอนุบาลชลบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีเขต 1 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในข้อ 1 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)

              2.2 นักเรียนชาย-หญิง อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/8 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2553 จำนวน 1 คนโรงเรียนอนุบาลชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีเขต 1
ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

3. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในระยะการศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C  คือ
ครูปฐมวัยที่ปฏิบัติงานสอนอยู่ในชั้นเรียนของเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 5 - 6 ปี ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนคลองสระ (สภาวิทยาอุทิศ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี
เขต 1 โรงเรียนชุมชนบึงบา โรงเรียนวัดจตุพิธวราราม โรงเรียนวัดเกตุประภา และโรงเรียนชุมชนประชานิกรอำนวยเวทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 รวมทั้งสิ้นจำนวน 6 คน
ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

ตัวแปรที่ศึกษา : ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 8 ทักษะ ประกอบด้วย
ทักษะการเปรียบเทียบ การจัดประเภท การจับคู่ การเรียงลำดับ การนับ การรู้ค่าจำนวน การวัด
และการบอกตำแหน่ง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่1 ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ
ระยะที่2 ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนและแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ระยะที่ 3 ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนโดยครูปฐมวัย

สรุปผลการวิจัย :
1. รูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00 - 4.80 ซึ่งส่วนใหญ่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2. หลังจากได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C
เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งรายด้านทุกด้านและโดยรวมทั้ง 8 ทักษะ สูงกว่าทั้งก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และระหว่างการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ยกเว้นทักษะการรู้ค่าจำนวนที่เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หลังการทดลองสูงกว่าระหว่างการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. รูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C ตามความคิดเห็นของครูปฐมวัยที่นำรูปแบบการเรียนการสอนไปทดลองใช้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.50 - 5.00

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น